วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประวัติการค้นพบ “ฮอร์โมน”

ประวัติการค้นพบ “ฮอร์โมน”

  
     หากพูดถึง "ฮอร์โมน"  เวลานี้เหล่าบรรดาวัยรุ่นทั้งหลายคงนึกถึงละครซีรีย์ชื่อดังอย่าง  “ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น”  ละคร ซีรีย์ฮอตเกาะกระแสสังคม  ผลิตโดยจีทีเอช และนาดาวบางกอก  ซึ่งออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์จานดาวเทียมจีเอ็มเอ็มวัน  ละครซีรีย์เรื่องนี้มีการนำเสนอเรื่องราวชีวิตของวัยรุ่น โดยตีแผ่ด้านมืดของชีวิตวัยรุ่นในสังคมยุคปัจจุบันอย่างชัดเจน  โดยมีการนำเอาชื่อของฮอร์โมนต่าง ๆ มาใช้เปรียบเทียบและสะท้อนบุคลิกของตัวละครนั้น ๆ แต่ในความเป็นจริงทางวิทยาศาสตร์แล้ว ฮอร์โมนไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเราแค่ในเฉพาะวัยว้าวุ่น อย่างวัยรุ่นเท่านั้น   แต่ยังมีความสำคัญเกี่ยวข้องต่อการเจริญเติบโตและใช้ชีวิตในทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งแก่เฒ่าอีกด้วย



     แต่หากจะกล่าวถึงประวัติการค้นพบฮอร์โมนนั้นคงเริ่มจากการทดลองของ ศาสตราจารย์ อาร์โนลด์ เอ. เบอร์โทลด์ (Professor Arnold A. Berthold) นักสรีรวิทยาชาวเยอรมัน  โดยในปี พ.ศ. 2391  อาร์โนลได้ทำการเปลี่ยนโครงสร้างร่างกายของของไก่เพศผู้  โดยแบ่งออก 3 กลุ่ม  กลุ่มแรก  ให้ลูกไก่เจริญเติบโตตามปกติ  กลุ่มที่สอง  ทำการตัดอัณฑะของลูกไก่ออก  และกลุ่มที่สาม  ทำการตัดอัณฑะของลูกไก่ออก  แล้วนำอัณฑะของลูกไก่อีกตัวอื่นมาใส่ที่ใต้ตำแหน่งอัณฑะเดิมเล็กน้อย      ผลการทด ลองของอาร์โนลปรากฏว่า  ลูกไก่กลุ่มแรกและกลุ่มที่สามซึ่งได้รับการต่ออัณฑะจากไก่ตัวอื่น  สามารถเจริญเติบโตไปเป็นไก่ตัวผู้ตามปกติ  ในขณะที่ลูกไก่ในกลุ่มที่สองที่โดนตัดอัณฑะออก  กลับเจริญเติบโตมามีลักษณะคล้ายกับไก่เพศเมีย  ดังนั้นลักษณะเพศผู้ของลูกไก่จึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครโมโซมเพศผู้แต่เพียง อย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังเกี่ยวข้องกับกลไลการทำงานของสิ่งอื่นด้วย

      ต่อมาในปี พ.ศ.2446  วิลเลียม เบย์ลิสส์ (William Bayliss) และ เออเนสต์  สตาร์ลิ่ง (Ernest  Starling)  นัก สรีรวิทยาชาวอังกฤษ  ได้เกิดความสงสัยว่า  น้ำย่อยถูกผลิตออกมาเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร เมื่ออาหารเคลื่อนตัวจากท้องสู่ลำไส้แล้วสิ่งใดที่เป็นตัวกระตุ้นให้ตับอ่อน ปล่อยสารพิเศษออกมาช่วยในการย่อยอาหาร?             เบย์ลิสส์และสตาร์ลิ่งจึงได้ทดลองนำเลือดของสุนัขซึ่งกินอาหารเสร็จเรียบ ร้อยแล้ว  มาฉีดใส่ในสุนัขตัวที่สองซึ่งยังไม่ได้กินอาหารเลย  และผลก็ปรากฏว่าสุนัขตัวที่สองเกิดการหลั่งน้ำย่อยออกจากตับอ่อน  สร้างความประหลาดใจให้แก่พวกเขาทั้งสองคนเป็นอย่างมากทั้งเบย์ลิสส์ และสตาร์ลิ่ง  ต่างเชื่อว่าที่ตับอ่อนสามารถหลั่งน้ำย่อยได้นั้นเป็นเพราะมีการส่งสัญญาณไป ทางกระแสประสาท  พวกเขาจึงเริ่มทำการทดลองโดยมัดปลายทั้งสองข้างของลำไส้เล็กส่วนกลาง หรือที่เรียกกันว่า Jejunum และผ่าตัดเอาเส้นประสาททั้งหมดออก  เหลือไว้เพียงแค่เส้นเลือดแดงและดำเท่านั้น  ซึ่งจุดประสงค์ก็เพื่อให้ตับอ่อนหยุดการหลั่งน้ำย่อย  แต่ผลการทดลองนี้กลับทำให้เบย์ลิสส์และสตาร์ลิ่งต่างตกใจ  เมื่อพบว่าตับอ่อนไม่ได้เกิดการหยุดหลั่งน้ำย่อย  แต่ยังสามารถหลั่งน้ำย่อยออกมาได้แถมยังหลั่งออกในอัตราเท่าเดิมอีกด้วย
         

       การ ทดลองของทั้งสองจึงไมได้จบอยู่เพียงแค่นั้น  เขาทั้งสองยังคงเริ่มทำการทดลองเพื่อค้นหาคำตอบต่อไป  โดยการขูดเมือกบริเวณ Jejunum และฉีดเข้าเส้นเลือดสุนัข  ผลปรากฏว่า ตับอ่อนสามารถหลั่งน้ำย่อยออกมาได้อีก  ดังนั้นเบย์ลิสส์และสตาลิ่งจึงต่างคิดว่า  ต้องมีสารบางอย่างอยู่ที่ผนังเมือกของลำไส้เล็ก  ซึ่งพวกเขาเรียกมันว่า “ซีคริติน” (secretin)
  ต่อมาจึงมีการบัญญัติคำใหม่เพื่อใช้เรียกกลุ่มของสารเคมีนี้ว่า “ฮอร์โมน”  ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำว่า “horman”  แปลว่ากระตุ้น  หรือทำให้เคลื่อนไหวนั่นเอง

      หลังจากนั้นต่อมา  ฮอร์โมนอีกหลายชนิดซึ่งผลิตจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายก็ถูกค้นพบขึ้น  ทั้งฮอร์โมนผลิตจากต่อมใต้สมอง  ต่อมหมวกไตต่อมไทรอยด์  ต่อมพาราไทรอยด์  ต่อมไพเนียล  ต่อมไทมัส  อวัยวะสืบพันธุ์  หรือกลุ่มเซลล์ไอส์เลตออฟแลเกอร์ฮานส์  ทั้งยังได้มีการศึกษาถึงโครงสร้างของเหล่าฮอร์โมนชนิดนั้น ๆ อีกด้วย

    และนี่เองจึงเป็นที่มาของการค้นพบ “ฮอร์โมน”  สารเคมีที่มีบทบาทสำคัญต่อร่างกายค่ะ…

1 ความคิดเห็น:

  1. Lucky Day Casino Review and Bonus Codes - JTM Hub
    Lucky 하남 출장마사지 Day Casino is an online 세종특별자치 출장샵 casino that offers the best promotions, 삼척 출장마사지 Deposit Bonus: 100% up to €100 + 100 포항 출장샵 Free Spins. Rating: 4 · ‎Review by JRM 경주 출장샵

    ตอบลบ