ขนมบุหงาปุดะ



ขนมบุหงาปุดะ


"บุหงา ปูดะ" หรือ ขนมดอกลำเจียก เป็นขนมพื้นเมืองของจังหวัดสตูล มีการทำกันมาตั้งแต่สมัยพระยาสมันตรัฐ โดยคนในสายสกุลกรมเมือง ที่เข้าไปรับใช้อยู่ในวังเก่าเจ้าเมืองสะโตย หรือจังหวัดสตูลในปัจจุบัน

ขนมบุหงาปูดะ มีลักษณะสี่เหลี่ยมคล้ายหมอน ทำด้วยมะพร้าวทึนทึก และแป้งข้าวเหนียวผสมด้วยน้ำตาล เกลือ น้ำ และกะทิ เป็นขนมพื้นบ้านของชาวมุสลิมที่นิยมทำเป็นขนมใช้ในงานเทศกาลงานพิธีที่ สำคัญๆ ทางศาสนาอิสลาม อาทิ งานเทศกาลฮารีลายอ ตรุษของอิสลาม เทศกาลถือศีลอด งานแต่งงาน และเทศกาลงานอื่นๆ อีกมากมาย และนอกจากนี้ ยังใช้เป็นขนมต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่มาเยือน

อดีต ขนมบุหงาปูดะ จะทำกันเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ ไม่มีขายตามท้องตลาด จะต้องรอจนถึงช่วงเวลาเทศกาลถึงจะได้รับประทาน แต่ปัจจุบันขนมบุหงาปูดะได้มีการทำออกจำหน่ายเป็นของฝากติดไม้ติดมือนักท่อง เที่ยวและผู้ที่สนใจตลอดทั้งปี โดยมีกลุ่มเยาวชนและกลุ่มแม่บ้านที่ได้สืบทอดภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ รวมกลุ่มทำขนมพื้นบ้านชนิดนี้จนกลายเป็นสินค้าโอท็อปที่สร้างชื่อเสียงให้ กับจังหวัดสตูล

สำหรับแหล่งผลิตที่สำคัญและมีชื่อเสียง มีอยู่หลายกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มได้พัฒนารูปร่างหน้าตา รสชาติ สีสัน และรูปแบบบรรจุภัณฑ์แตกต่างกัน แต่แหล่งผลิตที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่รู้จักกัน ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านปากปิง ตำบลกำแพง อำเภอละงู 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น